Thailand Art & Design Exhibition
การแสดงศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4+ ประจำปี 2566





INTRO

การเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ งานวิชาการในปัจจุบัน มิได้มีขอบเขตเพียงสถาบันการศึกษา แต่เป็นการบูรณาการในส่วนของวิชาการ กับวิชาชีพ เพื่อเป็นการผสานความเข้าใจและเป็นพื้นฐานการสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน โดยการจัดการแสดงศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 plus ประจำปี 2566 ในครั้งนี้จะเป็นครั้งสำคัญที่ องค์กรหลักในการจัดงานจะมีการขับเคลื่อน ในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ และการออกแบบในประเทศไทย คือ ส่วนวิชาการที่ประกอบด้วยสถาบันการศึกษา สภาคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Council of Deans of Architecture of Thailand (CDAST)) สภาคณบดีศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย (Council of Arts and Design Deans of Thailand (CADDT)) สภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย และส่วนของวิชาชีพที่มี สภาสถาปนิก(Architect Council of Thailand) เป็นผู้ที่มีบทบาทหลักในการสนับสนุน ให้ข้อเสนอแนะ วางกรอบ แนวทาง มุมมองด้านวิชาชีพ และสร้างความเข้มแข็งให้กับวงการวิชาชีพ ในการจัดโครงการได้เปิดโอกาสให้คณาจารย์ ศิลปินและนักออกแบบทั้งในและต่างประเทศมาร่วมแสดงผลงานตามแนวความคิด และรูปแบบเฉพาะตัว พร้อมทั้งมีการประเมินคุณภาพผลงานโดยคณะกรรมการจากส่วนวิชาการ และส่วนวิชาชีพครั้งสำคัญของประเทศไทย

การจัดกิจกรรมโครงการ 4 th + Thailand Art and Design Exhibition การแสดงผลงานศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 plus เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด มรดกทางวัฒนธรรมและนวัตกรรม (Cultural Heritage and Innovation) ซึ่งมีความเชื่อมโยงมาโดยตลอด เมื่อใดก็ตามที่การศึกษาเกี่ยวกับชุมชน สังคม สัญลักษณ์ เอกลักษณ์ พิธีกรรม และศิลปะวัฒนธรรมต่าง ๆ จะเกิดความเชื่อมโยง และส่งผลต่องานออกแบบสร้างสรรค์เสมอ ในการแสดงงานสร้างสรรค์ที่นำเสนอถึงความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับนวัตกรรม ผ่านการทำความเข้าใจโดยใช้วัฒนธรรมเป็นฐานคิดเพื่อการต่อยอดสู่นวัตกรรม จึงเป็นกิจกรรมที่ควรสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคำจำกัดความของการนำเสนอผลงานออกแบบ ในรูปแบบที่ใช้แนวคิดในการออกแบบจากการเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมกับการออกแบบนวัตกรรม นี้เรียกว่า "มรดกทางวัฒนธรรมและนวัตกรรม "

ดังนั้น โครงการ 4 th + Thailand Art and Design Exhibition การแสดงผลงานศิลปะและการ ออกแบบแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 plus เป็นการสนับสนุนให้คณาจารย์ได้มีโอกาสจัดแสดงผลงานทางวิชาการประเภทงานสร้างสรรค์ ซึ่งประกอบด้วย (1) ผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ (2) ผลงานภาพถ่าย ภาพยนตร์ และสื่อผสม (3) ผลงานด้านสถาปัตยกรรมและงานออกแบบประเภทอื่น ๆ (4) ผลงานด้านศิลปะและการแสดง โดยประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม ได้แก่ (1) การจัดแสดงผลงานสร้างสรรค์ (2) การเสวนาวิชาการทางการออกแบบและศิลปะวัฒนธรรม (3) การจัดแสดงผลงานของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ในการจัดโครงการได้เปิดโอกาสให้คณาจารย์ ศิลปินและนักออกแบบ ทั้งในและต่างประเทศมาร่วมแสดงผลงานตามแนวความคิดและรูปแบบเฉพาะตัว พร้อมทั้งมีการประเมินคุณภาพผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในการนี้ได้เชิญคณาจารย์และนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับงานศิลปะ การออกแบบและสถาปัตยกรรม ในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการฯเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ในด้านพัฒนางานสร้างสรรค์ และงานวิจัยในสาขาศิลปะ ออกแบบสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่สนับสนุนการเรียนการสอน การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของท้องถิ่น ประเทศ และนำเสนอผลงานสู่ระดับสากล ตลอดจนเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนในการเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ แก่นักศึกษาและผู้สนใจเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านวิชาการศิลปะแก่นักศึกษาและผู้สนใจต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อจัดแสดงและเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ ด้านศิลปะและการออกแบบของคณาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ รวมทั้งศิลปินและนักออกแบบ จากภายนอกสถาบันการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ
  2. เพื่อเป็นเวทีบรรยายทางด้านวิชาการ ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการออกแบบและศิลปวัฒนธรรม จากศิลปินและนักออกแบบผู้มีประสบการณ์จากทั่วประเทศ
  3. เพื่อจัดแสดงผลงานด้านการออกแบบของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

การแสดงผลงานศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย ในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 + ต่อเนื่องจากความสำเร็จในการจัดงานใน 4 ครั้งที่แล้วมา โดยในครั้งนี้มีการแสดงผลงานภายใต้แนวคิดมรดกทางวัฒนธรรมและนวัตกรรม (Cultural Heritage and Innovation) โดยผ่านการคัดเลือกผลงานจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขา สถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรมและการออกแบบ จากผลงานที่มีคุณค่ามีจุดเด่นอยู่ที่แนวคิดในการสร้างสรรค์และสามารถสื่อถึงความร่วมสมัยโดยคำนึงถึงที่การสอดรับและยืดหยุ่นกับยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างยั่งยืนเป็นสำคัญ

สถาปัตยกรรม

รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ กังขาว

อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาศิลปกรรมศาสตร์ 2563

..........

Thailand Pavilion the International Horticultural Exhibition 2024 Chengdu

สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย HORTICULTURAL SCIENCE SOCIETY OF THAILAND

..........

สวนรถไฟสะพานดำ นครลำปาง

การรถไฟแห่งประเทศไทย NAMO DESIGN

ทัศนศิลป์

นายชวน หลีกภัย

ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2552

..........

นายสัญญา สุดล้ำเลิศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โกดมศ กาญจนพายัพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เวนิต ทองจันทร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดลพร ศรีฟ้า

ดร.สุริยะ ฉายะเจริญ

ดร.นลินณัฐ ดีสวัสดิ์

ดร.กิตติธัช ศรีฟ้า

ดร.ณิรชญา จังติยานนท์

อาจารย์พรวิภา สุริยากานต์

อาจารย์พิทวัล สุวภาพ

อาจารย์สุจิตรา พาหุการณ์

ศิลปะและการออกแบบ

รองศาสตราจารย์ ดร.จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง

รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐไท พรเจริญ

รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัช พะยิ้ม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังกาบ บุญสูง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาณัฏ ศิริพิชญ์ตระกูล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา ดูพันดุง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธิศ เกียรติสุข

ดร.โสรัจ พฤฒิโกมล

ดร.เกษม มานะรุ่งวิทย์

ดร.ภานุ พัฒนปณิธิพงศ์

ผลงานร่วมจัดแสดง

สถาปัตยกรรม

ตึกแดงกำแพงเพชร รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ กังขาว

Thailand Pavilion the International Horticultural Exhibition 2024 Chengdu

สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย HORTICULTURAL SCIENCE SOCIETY OF THAILAND

สวนรถไฟสะพานดำ นครลำปาง

การรถไฟแห่งประเทศไทย (SRT)

NAMO DESIGN

ทัศนศิลป์

ขิงแดง

บัว

อุ่นไอรัก

ชีวาเคลื่อนไหวแต่ไม่เคลื่อนไป 1/2566

I'm behind the scenes of what you see

No More Mask

Commingled

บัวสีชมพู

เศษส่วนสิบ : No.5

ศิลปะและการออกแบบ

วิถีคน วิถีควาย : จักรสานคล้าสีธรรมชาติ

ชุดรับประทานอาหารกลางแจ้งจากเสื่อต้นกก

การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาเส้นใยป่านศรนารายณ์ในเชิงพาณิชย์

Apole

Boom Share

สู่การเป็นหนึ่งเดียวกัน : ภูมิปัญญากับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กำหนดการ งานเสวนา และพิธีเปิดงาน

การแสดงศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 plus ประจำปี 2566 วันที่ 9 - 16 กันยายน 2566

เปิดงาน 9 กันยายน 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น 5

เวลา กิจกรรม รายละเอียด
09.00-10.00 น. ลงทะเบียน
10.00-12.00 น. Heritage Innovation Design Challenge

การจัดแสดงผลงานนิสิตนักศึกษาหัวข้อ Heritage Innovation Design Challengeในงาน Thailand Arts and Design Exhibition

  • The Best of Challenge ทีมที่ได้รับคะแนนสูงสุด
  • The Runner-Up ทีมที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง
  • The Honorable Mentions ทีมที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับ
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-13.50 น. HARC Volunteer งานเสวนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หัวข้อ การร่วมมืองานสร้างสรรค์ภายใต้กลุ่มอาสาสมัคร HARC Volunteer
14.00-14.50 น. เสาวนากลุ่มผลงานออกแบบ อ.เสาวณิต ทองมี กล่าวเปิดงาน รศ.ดร.จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง ดำเนินรายการ
15.00-15.50 น. เสาวนากลุ่มผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม “สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด มรดกทางวัฒนธรรมและนวัตกรรม (Cultural Heritage and Innovation)” โดย รศ.สุรศักดิ์ กังขาว และ ศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย
16.00-16.50 น. พิธีเปิด ประธานและแขก ผู้มีเกียรติร่วม เปิดงาน นำชมและบรรยายผลงานนิทรรศการโดยเจ้าของผลงานพร้อมกิจกรรม ศ.ปรีชา เถาทอง เพ้นท์ภาพบนผ้า เสวนากลุ่มผลงานศิลปกรรม ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ กล่าวรายงาน
ประธานเปิดงาน
นายชวน หลีกภัย
เสวนากลุ่มผลงานศิลปกรรม
ดร.กิตติธัช ศรีฟ้า ดำเนินรายการ
17.00-17.30 น. มอบรางวัล ประชุมแถลงแนวคิด และลงนามใบปฏิญญา
  • มอบรางวัล Heritage Innovation Design Challenge โดยคณบดีคณะสถาปัตยกรรม และการออกแบบมทร.รัตนโกสินทร์ฯ
  • ร่วมประชุมแถลงแนวคิดด้านนโยบาย การขยายผลความร่วมมือต่อยอดโครงการ ร่วมกันในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม
  • ลงนามใบปฏิญญาร่วมกัน
17.30 ปิดงานเสาวนา อาจารย์ ดร.โสรัจ พฤฒิโกมล

*** วิทยากรและระยะเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

การจัดแสดงศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย ที่ผ่านมา

การจัดแสดงศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4

การจัดแสดงศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1-3

คณะกรรมการผู้พิจารณากลั่นกรองคุณภาพของผลงานก่อนเผยแพร่

ด้านสาขาสถาปัตยกรรมและการออกแบบ

สาขาสถาปัตยกรรมหลัก

สาขาสถาปัตยกรรมภายใน

สาขาการวางผังเมืองและออกแบบชุมชน

สาขาภูมิสถาปัตยกรรม

สาขาพลังงาน

  1. Professor Dr. Nihal Perera
  2. ศาสตราจารย์ ดร.คุ้มพงศ์ หนูบรรจง
  3. ศาสตราจารย์ ดร.อรศิริ ปาณินท์
  4. ศาสตราจารย์ ดร.ต้นข้าว ปาณินท์
  5. รองศาสตราจารย์ ดร. ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ
  6. รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพงษ์ ชุมดวง
  7. รองศาสตราจารย์ ดร.สมพล ดำรงเสถียร
  8. รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ กังขาว
  9. รองศาสตราจารย์ ดร. พัสตราภรณ์ ทิพยโสธร
  10. รองศาสตราจารย์ ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ จิวไพโรจน์กิจ

ด้านศิลปะและการออกแบบ

สาขาศิลปะและการออกแบบ

สาขาการออกแบบ

สาขาศิลปะอุตสาหกรรม

สาขาศิลปะประยุกต์

สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์

สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์

  1. ศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์
  2. ศาสตราจารย์ ดร.ปานฉัตร อินทร์คง
  3. ศาสตราจารย์ ดร.สมพร ธุรี
  4. ศาสตราจารย์.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์
  5. รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐไท พรเจริญ
  6. รองศาสตราจารย์ ดร.นิรัช สุดสังข์
  7. รองศาสตราจารย์ ดร.จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง
  8. รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา
  9. รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
  10. รองศาสตราจารย์ ดร.รจนา จันทราสา
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อติเทพ แจ้ดนาลาว
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เวทิต ทองจันทร์
  13. ศาสตราจารย์เกียรติคุณสุชาติ เถาทอง
  14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ดลพร ศรีฟ้า
  15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.โกเมศ กาญจนพายัพ

Gallery

สถานที่

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น 5
5 กันยายน – 1 ตุลาคม 2566