วัฒนสถาปัตยกรรม วัดป่าชัยรังสี จ.กำแพงเพชร

หมวดหมู่: UPDATE
วันที่: 2025-02-12 13:55:55
“สถาปัตยกรรมในเมืองมรดกโลก” WORLD HERITAGE EXPERIENCE 11 -12
รศ.สุรศักดิ์ กังขาว (อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ , ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ) www.kangkhao.com และคณะทำงานเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติด้านศิลปวัฒนธรรม (Heritage Academic and Research Center : HARC)
ประชุมความคืบหน้าและนำเสนอรูปแบบ วัฒนสถาปัตยกรรม ในโครงการออกแบบผังแม่บทและ งานตกแต่งพระเจดีย์วัดวัดป่าชัยรังสี จ.กำแพงเพชร รศ.สุรศักดิ์ กังขาว (อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ , ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ) www.kangkhao.com และคณะทำงานเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติด้านศิลปวัฒนธรรม (Heritage Academic and Research Center : HARC) www.harc.asia ได้ร่วมประชุมแผนงานความคืบหน้าและนำเสนอรูปแบบผังแม่บทเสนอหารือแลกเปลี่ยนแนวคิดกับ พระครูบาเงิน วัดป่าชัยรังสี เพื่อใช้เป็นแนวทางสร้างผังแม่บทที่บูรณาการร่วมกับวัดและชุมชนโดยรอบ โดยใช้แนวคิดวัฒนสถาปัตยกรรมที่สอดคล้อง กับการใช้ประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่ทั้งภายในและภายนอก การอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนโดยรอบ และการสร้างคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่เมืองมรดกโลก อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เกิดเป็นรูปแบบศาสนสถานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะชัดเจน เป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาภูมิปัญญาสู่การเสริมสร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนานวัตกรรมอิฐในพื้นที่เมืองมรดกโลก ศึกษาข้อมูลค้นหาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สามารถนำสู่การประยุกต์ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมในพื้นมรดกโลก เพื่อผลักดันให้เกิดศักยภาพและจุดแข็งของโรงอิฐในพื้นถิ่นให้เกิดเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์เฉพาะสู่การพัฒนาด้านนวัตกรรม ด้านคุณภาพ และด้านต้นทุน วัฒนสถาปัตยกรรม Culturarchitecture
วัดป่าชัยรังสี เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร บริเวณพื้นที่ป่าริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก มีทางเข้าออกหลักถึง 3 ทาง ตามถนนฝั่งทิศใต้และตะวันออกรวม 2 สายและทางถนนภายในชุมชนฝั่งทิศเหนือ 1 สาย ชุมชนพักอาศัยอยู่บริเวณโดยรอบวัดใช้เส้นทางสัญจรผ่านวัดไปสู่ถนนสายหลักที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันวัดป่าชัยรังสี มีสิ่งก่อสร้างจากศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในชุมชนโดยรอบและจากนอกพื้นที่ พัฒนาและสร้างสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นตามประโยชน์ใช้สอยและกิจกรรมของพระสงฆ์เป็นหลัก แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่มีต้นไม้ขนาดกลางและขนาดใหญ่ปกคลุมทั่วบริเวณเขตธรณีสงฆ์ รวมถึงการจัดการที่ไม่ได้มีวางแผนล่วงหน้า จึงทำให้เกิดอาคารขนาดเล็กกระจายตัวกันอย่างไม่มีความเชื่อมโยงอยู่ทั่วพื้นที่ของวัด ส่งผลให้การสัญจรและการใช้พื้นที่ภายในวัดขาดจุดศูนย์กลาง พระอาจารย์เงิน เจ้าอาวาสมุ่งหวังให้วัดป่าชัยรังสี เป็นสถานที่ที่สงบและเหมาะสมที่อยู่ไม่ห่างไกลจากชุมชน จึงเกิดแนวคิดในการก่อสร้างองค์เจดีย์ เพื่อพุทธศาสนิกชนผู้มาเยือน ส่งผลให้เกิดการสานต่อสู่การริเริ่มโครงการพัฒนาผังแม่บทและศาสนาสถานที่สำคัญ โดยมีความตั้งใจให้ก่อสร้างองค์เจดีย์และอุโบสถหลังใหม่เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงของพื้นที่ทำกิจกรรมทางศาสนา เป็นดั่งสัญลักษณ์ของพื้นที่ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาผังแม่บทในจัดการพื้นที่ใช้สอยให้สอดคล้องกันทั้งด้านการเข้าถึงและการใช้พื้นที่ภายในวัด
https://issuu.com/kangkhao.s/docs/culturarchitect-2021-issu
https://www.facebook.com/watpakang
#harc #surasak #homesproject #kangkhao #heritage #culturachitecture