วันที่ ( 27 ม.ค. ) ณ บ้านสิงห์ไคล ถนนสิงห์ไคล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการสู่การปฏิบัติ " MOU" การพัฒนาจังหวัดเชียงรายอย่างยั่งยืนกับภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาและบริษัท เชียงรายพัฒนาเมือง " ซีอาร์ซีดี " จำกัด
ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อนำร่องโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ "BCG Economy Mode !" ซึ่งมีจังหวัดเชียงรายเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลัก โดยได้พิจารณาแนวทางในการต่อยอดโครงการเพื่อขยายผลในการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนที่มีศักยภาพให้สามารถนำเอามาพัฒนาเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนายุทธศาสตร์บูรณาการ การพัฒนาจังหวัดเชียงราย เชื่อมโยงทุกภูมิภาคสอดคล้องและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นรูปธรรม
ซึ่งการพัฒนาความร่วมมือในการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมให้สามารถนำไปใช้ได้จริง สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ได้อย่างเป็นระบบและเพื่อพัฒนาเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์บูรณาการในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอื่น จึงได้กำหนดจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการสู่การปฏิบัติ "การพัฒนาจังหวัดเชียงรายอย่างยั่งยืน" โดยมุ่งหวังให้เป็นจุดริ่มต้นของการพัฒนาจังหวัดเขียงราย โดยการพัฒนาประชาชนกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มผู้เปราะบางในสังคม เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถเป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่งในเศรษฐกิจระดับชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานของเศรษฐกิจในระดับจังหวัด และประเทศในอนาคต เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการพัฒนาโดยการประสานองค์ความรู้จากภาควิชาการและแปลงไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม จนบังเกิดผลสำเร็จของการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
ภาพข่าว : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย
ภาพข่าว : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย
กิจกรรม Change for good Goods for change Pavilion ในงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2565
พบกับกิจกรรมการ แลกเปลี่ยนสินค้า จำหน่ายสินค้า นิทรรศการ ที่หลายหลายจากชุมชน ทั้ง 9 อำเภอ สินค้าทางเกษตร ผัก ผลไม้ งานฝีมือชาวม้ง กาแฟดริปกะลา และอื่นๆ อีกมากมาย ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
กำแพงเพชร – สุโขทัย เมืองมรดกโลก
รศ.สุรศักดิ์ กังขาว และ คณะทำงานเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติด้านศิลปวัฒนธรรม (Heritage Academic and Research Center : HARC) www.harc.asia ร่วมโครงการ คณะทำงาน Change for good: CFGกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้ดำเนินโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างบูรณาการในพื้นที่ จังหวัดสุโขทัย อย่างเป็นรูปธรรมอย่าง ต่อเนื่องอาทิ โครงการศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงทางรถไฟ การพัฒนาพื้นที่แลกเปลี่ยนสินค้าในพื้นที่ชุมชน เพื่อเป็นการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีลอยกระทง ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชน กลุ่มศิลปินท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน แผนพัฒนาจังหวัด เพื่อการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเมืองมรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร ร่วมกิจกรรม สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีลอยกระทง โดยจัดแสดงและกิจกรรม ภายในงาน ภายใต้กิจกรรม Change for good Goods for change Pavilion ในงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2565 พบกับกิจกรรมการ แลกเปลี่ยนสินค้า จำหน่ายสินค้า นิทรรศการ ที่หลายหลายจากชุมชน ทั้ง 9 อำเภอ ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
จากการศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงพื้นที่มรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร ทั้งทางด้านนโยบาย แผนพัฒนาฯ โครงการต่าง ๆ บ่งชี้ว่า "สุโขทัย" จะมีบทบาทหลักสำหรับเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงแหล่งมรดกโลก ทั้งภายในประเทศและแหล่งมรดกโลกอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน (World Heritage Corridor) โดยมีพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า อาทิเช่น บ้านด่านลานหอย กงไกรลาศ คีรีมาศ ศรีนคร ทุ่งเสลี่ยม หาดเสี้ยว และสวรรคโลก ที่มีความเชื่อมโยงกันทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวชุมชนเมืองเก่าต่าง ๆ ให้แต่ละพื้นที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพของกันและกัน ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวในระดับสากลได้ จึงเป็นแนวคิดที่มีความสำคัญ ในการช่วยกระจายรายได้ ยกระดับเศรษฐกิจและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น
เมืองสวรรคโลก ในอดีตเป็นแหล่งรวบรวมไพร่พลและเสบียงในการกอบกู้เอกราช ณ เมืองบางขลัง เนื่องจากพื้นที่ตั้งอยู่บนสองฝั่งของแม่น้ำยม บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการเดินทางและการค้า จึงมีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนสืบมาช้านาน รวมถึงการเข้ามาตั้งรกรากของชาวจีน ในจังหวัดสวรรคโลกทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่มีความน่าสนใจ แม้จะผ่านกลาเวลามานานชาวเมืองยังคงเก็บรักษาบรรยากาศของย่านการค้าเก่า รอบบริเวณสถานีรถไฟ สถานีตำรวจ ที่ว่าการอำเภอ และพื้นที่ต่อเนื่อง มีอาคารบ้านเรือนที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชุมชนชาวจีน ซึ่งเป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองสวรรคโลกจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน
ดังนั้นพื้นที่บริเวณย่านชุมชนเก่าซึ่งเป็นชุมชนจีนและ จึงเป็นบริเวณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองสวรรคโลกที่ควรค่าแก่การปรับปรุงฟื้นฟู การอนุรักษ์ เพื่อมิให้สูญหายและการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กิจกรรมการท่องเที่ยว กิจกรรมประเพณีและวัฒนธรรม ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม กระจายรายได้ให้กับชุมชนต่อไปในอนาคต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนการพัฒนาเมืองให้มีความเหมาะสมทั้งด้านกายภาพ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ ทั้งที่มีอยู่แล้วและสร้างเสริมขึ้นใหม่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม คณะวิจัยได้วางแผนและดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ ทั้งที่มีอยู่แล้วและสร้างเสริมขึ้นใหม่ในรูปแบบกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนปัญหาและบริบทของพื้นที่ ความต้องการของชุมชนในพื้นที่ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยวที่เป็นกิจกรรมสำคัญและได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองทั้งจากนโยบายในระดับประเทศและระดับจังหวัด ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคีเครือข่ายในการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการกำหนดอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของพื้นที่ (Identity & Character) พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้มาตรฐาน ความปลอดภัย รองรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม รวมทั้งการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการบริการการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ สร้างประโยชน์กระจายรายได้ให้กับท้องถิ่น และเป็นไปตามแนวทางการพัฒนาเมืองสวรรคโลกที่ยั่งยืนต่อไป
การประชุมเสาวนาและลงศึกษาพื้นที่ ในพื้นที่ชุมชนเมืองสวรรคโลก
กิจกรรมงานเสวนา บริเวณภายในอาคารสถานีรถไฟสวรรคโลก
Infographic ในการจัดแสดงนิทรรศการกระบวนการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูล
การจัดนิทรรศการ แสดงผลงานการสำรวจศึกษาพื้นที่ (สถานีรถไฟสวรรคโลก)
พิธีเปิดงานกิจกรรมและมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ร่วมโครงการ
A brief note about Ball State University, BSU (CapAsia) and King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, KMITL collaborative project
The main goal of the field study is to profoundly enhance the critical and creative thinking capability of the participants through the learning of social, cultural, and spatial practices, as well as design and planning approaches, in a radically different world-region. This facilitates the understanding of their own cultures, environments, and their larger global context. Many goals that American society is striving to achieve such as sustainability and many traits that most contemporary societies are losing, for example, self-sufficiency, community, and integrated land-uses and activities, may be operating well in Asia, albeit within a continuously Westernizing and globalizing environment.
CapAsia takes a more "subaltern" approach compared to the dominant development a list view. The proponents of the development a list view positions the United States as the world's economic, political, and cultural leader, and assert that the developed countries know best what the "Third World" needs, what they should do to become developed, and have the expertise and resources to help those who are perceived to be in need of such assistance. Instead, the CapAsians ask why Asians do the things the way they do? Why they plan, design, and build the way they do in Asia? And what can we learn from them?
The two main components of the program: "Planning to learn" and "building to learn" refer to learning about one's self in relation to the "Other," participating in others' processes, rethinking one's place in the world, and questioning, fundamentally, how one chooses to engage the world and its people first as a fellow human being, then as a member of a community, as well as a professional or a scholar. This experience is guided to both reveal new knowledge about society, culture, planning, and design, and find new uses for existing knowledge
King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, KMITL and Ball State University, BSU (CapAsia) collaboration project 2022
The 7-week planning to Learn component is conducted in collaboration with a leading university in Thailand (KMITL). The participants stay in an ordinary (low-middle class) neighborhood (away from tourist areas), go to project site as everyone else, and undertake their creative project in collaboration with local students.
The 7 weeks full-time course presents a challenging program of history and design studios, field studies, selected readings, seminars and lectures in a mutual exchange between students and tutors.
The participating students - coming from different regions and cultures and different level of studies and training - will work in small groups (3-4) of different nationalities in both the historical and the design stage.
a - Workshop Diary
b - Travel sketches in The Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns
c - Reading notes and comments
d - Paper presentation of master / PhD research
e - Design proposals (group work) and organisation of the final exhibition
รศ.สุรศักดิ์ กังขาว (อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ 2563 , ข้าราชการพลเรือนดีเด่นแห่งชาติ 2563) MR.KEVIN SUND และ คณะทำงานเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติด้านศิลปวัฒนธรรม (Heritage Academic and Research Center : HARC) www.harc.asia ลงสำรวจพื้นเพื่อสำรวจและศึกษาข้อมูลค้นหาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สามารถนําสู่การประยุกต์ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกับผู้ประกอบการโรงอิฐในพื้นมรดกโลกในพื้นที่ จังหวัดกำแพงเพชร และ จังหวัดสุโขทัย โดยการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นเพื่อหารือถึงแนวโน้มของตลาดและพัฒนาศักยภาพ ร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อผลักดันให้เกิดศักยภาพและจุดแข็งของโรงอิฐในพื้นถิ่นให้เกิดเป็นเอกลักษณและอัตลักษณ์เฉพาะสู่การพัฒนาด้านนวัตกรรม ด้านคุณภาพ และด้านต้นทุน ซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นทางเลือกที่แตกต่างจากผู้ผลิตอิฐรายใหญ่ในระบบอุตสาหกรรมที่เป็นผู้จำหน่ายหลักในตลาดอิฐในปัจจุบัน
Swan : Sawankhalok
Sedz : เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่” เพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย ลดความเหลื่อมล้ำ ทางรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
Space : มิติการใช้พื้นที่ในชุมชนและบทบาทความเป็นชุมชนดั้งเดิมใน เมืองสวรรคโลก
Sedz : “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่” เพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาคน ทุกช่วงวัย ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
Sufficiency Economy Development Zones for Sustainable Development Goals (SEDZ for SDGs)
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ SEDZ ขับเคลื่อน การพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area Based) เป็นแนวทางสนับสนุนการจ้างงาน โครงสร้างพื้นฐาน วัสดุอุปกรณ์พื้นฐาน และการอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนและ ภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ ด้วยการดึงภาควิชาการมาร่วมพัฒนาและยกระดับศักยภาพตัวบุคคล ต่อยอดด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม มีภาคเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุนโครงการ วางแผน พัฒนา และต่อยอดผลผลิตต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากความสมบูรณ์ของการพัฒนาพื้นที่ ด้วยการให้ความรู้ตามแนวพระราชดำริ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ควบคู่กับการศึกษารากเหง้า ภูมิปัญญาดั้งเดิม เพิ่มพูนด้วย ชุดความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับ การแก้ไขปัญหาของพื้นที่และภูมิสังคม ยกระดับเป็น “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่”
การกำหนดรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมร่วมกับภาคประชาชนและภาคเอกชนในพื้นที่ ที่สามารถส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ช่วยการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และ การเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนา ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือทฤษฎีใหม่ หลัก "บวร" (บ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ) "บรม" (บ้าน โรงเรียน/ราชการ มัสยิด) "ครบ" (คริสต์ โรงเรียน/ราชการ บ้าน) รวมถึงแนวพระราชดำริต่าง ๆ การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) การพัฒนาและการรังสรรค์นวัตกรรมในรูปแบบใหม่ Policy Sandbox ภายใต้การปฏิรูประบบราชการ และแนวทางการพัฒนาโดยใช้ศาสตร์อื่น ๆ เพื่อมาเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ในพื้นที่นี้