Located in CLM Doi In C, Doi Hang Subdistrict, Mueang District, Chiang Rai Province, Khok Nong Na Community Learning Center is undergoing a remarkable transformation. We are developing the prototype area of the community based on new theories to improve the quality of life. This includes the introduction of a bamboo structure with vibrant pathways connecting the front area of the center to all 9 bases, covering a total area of 15 rai. This initiative not only contributes to the attractiveness of Chiang Rai province as a tourist destination but also embodies the ethos of 'Protecting Forests, Preserving Dharma, Conserving Wildlife' within the Sufficiency Economy Development Zone (SEDZ).
In addition, with the 'In C Upcycling Bamboo Pavilion' project, we apply the concept of reusing old items for the benefit of the community, thereby reducing waste and counteracting global warming. This contributes to the creation of 'CULTURARCHITECTURE' and creates a model and a leading development area to promote ideas for sustainable development in other regions.
The Upcycling Bamboo Pavilion breathes new life into used items and prevents them from becoming waste. By giving these items a new purpose, we provide a breath of fresh air for the environment and at the same time reduce the use of new environmental resources in the production process. In this way, a second life is created for waste materials by transforming them into new, more valuable items, thereby reducing the amount of waste generated every day. Upcycling is a great way to give damaged old items a "second life" so that we value our possessions more over time. This transformation of workflows and manufacturing processes is fundamentally different from the past.
Modern buildings are usually static and are constructed of brick, stone, wood, or metal on their site. However, the concept of a living and growing building has largely been forgotten.
กิจกรรมภาคีเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาก่อสร้างโครงการอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่วิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยาน ดอยอินทรีย์
วันที่ 21 ธันวาคม 2566 ณ.ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาพื้นที่ชุมชน โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน พุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ต.ดอยฮาง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย
วันที่ 21 ธันวาคม 2563
9.00 น. เริ่มงานบริเวณหน้าอาคารศูนย์ฯ
9.30 น. รศ.สุรศักดิ์ กังขาว กล่าวที่มาของโครงการ ภาพรวมแนวคิด และแผนงานของโครงการ
10.00 น. ร่วมหารือ วิธีการขั้นตอน และรูปแบบในการก่อสร้าง คัดเลือกวัสดุเบื้องต้น แบ่งกลุ่มงานในการประสานงานในระหว่างช่วงเวลาในการก่อสร้างร่วมกัน
10.30 น. กิจกรรมรับบริจาคสิ่งของเข้าร่วมโครงการก่อสร้าง
หน่วยงานภาคีเครือข่าย
ที่มาของโครงการ
ด้วยศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นา (CLM) ดอยอินทรีย์ ได้ มีการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” (CLM)ดอยอินทรีย์ อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงรายโดยมีการบูรณาการในทุกภาคส่วน ตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการพัฒนา อันสอดคล้องกับ SDGs ข้อ 17 ทำงานแบบ Partnership ทำให้ “ทีมเข้มแข็ง” เพื่อประชาชนมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” ทั้งนี้ “ความสำเร็จอยู่ที่การทำให้เกิดระบบ เกิดทีม เพื่อให้ทีมหรือระบบนั้น ได้ส่งต่อ Change for Good ไปสู่พี่น้องประชาชนให้เกิดความสุขได้อย่างทันท่วงทีและยั่งยืนและเป็นจังหวัดนำร่อง ต้องเป็นผู้นำบูรณาการทุกภาคีเครือข่าย” โดยเน้นส่งเสริมให้ทุก ๆ ภาคส่วนมีส่วนร่วมด้วยช่วยกันด้วยความ “สามัคคีเป็นพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย” ในโครงการ “บวร” ต.เมืองฮาง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย
โครงการอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นา (CLM) ดอยอินทรีย์ เป็นส่วนหนึ่งของแผนบูรณาการการปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์เรียนรู้พื้นที่เรียนรู้ชุมชน โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน CLM ดอยอินทรีย์ ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยมีพระอาจารย์วิบูลย์ ธัมมเตโช ที่ปรึกษาคณะทำงาน 7 ภาคี ตำบลดอยฮาง ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ นายวิทยา ชุมภูคำ นายวราดิศร อ่อนนุช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พัฒนาการจังหวัดเชียงราย พัฒนาการอำเภอเมืองเชียงราย โดย รศ.สุรศักดิ์ กังขาว (อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ , ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ) และคณะทำงานเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติด้านศิลปวัฒนธรรม (Heritage Academic and Research Center : HARC) ได้ริเริ่มการออกแบบปรับภูมิทัศน์โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ โดยเป็นโครงสร้างไม้ไผ่ที่มีชีวิตมีเส้นทางเดินเชื่อมต่อระหว่างบริเวณหน้าศูนย์เรียนรู้ฯ ไปยังฐานเรียนรู้ทั้ง 9 ฐาน รวมถึงพื้นที่ต้นแบบฯ โดยรอบทั้งหมด 15 ไร่ สามารถเชื่อมโยงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งของจังหวัดเชียงราย จากการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ ภายใต้แนวคิด “พระพุทธบารมีรักษาป่า รักษาธรรม รักษาชีวิตสัตว์” ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ผ่านกระบวนความคิดในการใช้ของเก่านำกลับไปใช้ประโยชน์ “In C Upcycling Bamboo Pavilion” ด้วยของเหลือใช้เป็นการส่งต่อสิ่งดี ๆ ลดขยะ ลดปัญหาโลกร้อน ร่วมสร้าง " วัฒนสถาปัตยกรรม “ (CULTURARCHITECTURE ) ให้เกิดเป็นโครงการตัวอย่างและเป็นพื้นที่พัฒนานำร่องเพื่อส่งเสริมแนวคิดนี้ในการพัฒนาพื้นที่อื่นๆต่อไปได้อย่างยั่งยืน
รูปแบบโครงการเบื้องต้น
อาจารย์ เอส รศ.สุรศักดิ์ กังขาว (อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ , ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ( www.kangkhao.com รศ.ดร จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง และคณะทำงานเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติด้านศิลปวัฒนธรรม (Heritage Academic and Research Center : HARC) www.harc.asia เดินทางเข้าพบ พระอาจารย์วิบูล ธัมมเตโช ที่ปรึกษาแปลง โคก หนอง นา พัฒนาชมชน CLM ” ประชุมความคืนหน้าในการพัฒนาพื้นที่และเสนอแผนการดำเนินงานพัฒนาผังแม่บทโครงการอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นา (CLM) ดอยอินทรีย์ เป็นส่วนหนึ่งของแผนบูรณาการการปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์เรียนรู้พื้นที่เรียนรู้ โดย รศ.สุรศักดิ์ กังขาว (อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ , ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ) และคณะทำงานเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติด้านศิลปวัฒนธรรม (Heritage Academic and Research Center : HARC) ได้ริเริ่มการออกแบบปรับภูมิทัศน์โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ โดยเป็นโครงสร้างไม้ไผ่ที่มีชีวิตมีเส้นทางเดินเชื่อมต่อระหว่างบริเวณหน้าศูนย์เรียนรู้ฯ ไปยังฐานเรียนรู้ทั้ง 9 ฐาน รวมถึงพื้นที่ต้นแบบฯ โดยรอบทั้งหมด 15 ไร่ สามารถเชื่อมโยงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งของจังหวัดเชียงราย จากการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ ภายใต้แนวคิด “พระพุทธบารมีรักษาป่า รักษาธรรม รักษาชีวิตสัตว์” ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ผ่านกระบวนความคิดในการใช้ของเก่านำกลับไปใช้ประโยชน์ “In C Upcycling Bamboo Pavilion” ด้วยของเหลือใช้เป็นการส่งต่อสิ่งดี ๆ ลดขยะ ลดปัญหาโลกร้อน ร่วมสร้าง " วัฒนสถาปัตยกรรม “ (CULTURARCHITECTURE ) ให้เกิดเป็นโครงการตัวอย่างและเป็นพื้นที่พัฒนานำร่องเพื่อส่งเสริมแนวคิดนี้ในการพัฒนาพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้อาจารย์ เอส รศ.สุรศักดิ์ กังขาว รศ.ดร จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง และคณะทำงานเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติด้านศิลปวัฒนธรรม (Heritage Academic and Research Center : HARC) ได้เข้าร่วมศึกษาโครงการของรศ.สังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกวุฒิสภาไทย ประธานคณะกรรมาธิการฯ และคณะ ได้เข้ากราบนมัสการพระอาจารย์วิบูลย์อีกวาระหนึ่ง เพื่อขอความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ จากพระอาจารย์ คณะสงฆ์วัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ผู้แทนนายอำเภอเมืองเชียงราย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ชาวบ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ณ วิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ บ้านห้วยกีด ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ มีพื้นครอบคลุม 3 ตำบล คือตำบลดอยฮาง ตำบลแม่กรณ์ และตำบลป่าอ้อดอนชัย เส้นชั้นความสูงเฉลี่ย 500 - 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพดั้งเดิมเป็นพื้นที่ป่าเบญจพรรณเสื่อมโทรม มีไฟไหม้ป่ารุนแรงทุกปี มีการบุกรุกพื้นที่ทำกินรอบป่า มีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ล่าสัตว์เผาป่าอย่างรุนแรงเพื่อขยายพื้นที่ ทางคณะสงฆ์ได้เข้ามาอยู่ เมื่อตุลาคม 2548 โดยได้รับคำแนะนำจากกรมป่าไม้ให้เข้าร่วมโครงการพระสงฆ์ช่วยงานด้านป่าไม้ และได้รับอนุมัติโครงการจากกรมป่าไม้ เมื่อ 22 พฤษภาคม 2549 ครั้งแรกได้รับอนุมัติให้ดูแลพื้นที่ 945 ไร่
Founder : อาจารย์ เอส